เตือนภัยก่อนสายเกินแก้! ด้วยระบบป้องกันข้อมูลองค์กรรั่วไหล Data Loss Prevention (DLP)
เมื่อข้อมูลมีค่าและมีความสำคัญกับองค์กรมากจนอาจประเมินมูลค่าไม่ได้ การสร้างระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลจึงเป็นทางเลือกสำคัญของหลายองค์กร เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นก่อนสายเกินแก้แล้ววันนี้องค์กรคุณให้ความสำคัญกับข้อมูลที่มีมากน้อยแค่ไหน และมีการป้องกันข้อมูลสำคัญๆ อย่างไร?ถ้าองค์กรคุณยังไม่มีระบบป้องกันข้อมูล…ลองตามเราไปดูเครื่องมือจะเข้ามาช่วยปิดทุกทางรั่วไหลของข้อมูล ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Data Loss Prevention (DLP)
DLP คืออะไร?
Data Loss Prevention (DLP) คือส่วนหนึ่งของระบบความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อลดความเสี่ยงให้กับองค์กร กรณีที่มีการถูกโจรกรรมจากบุคคลภายนอก และจากคนภายในองค์กรเองข้อมูลที่มักถูกโจรกรรมหรือรั่วไหลจนสร้างความเสียหาย เช่น ข้อมูลการเงิน ข้อมูลลูกค้า เอกสารสัญญา ข้อมูลโปรเจค ข้อมูลแผนงานหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นความลับ รวมถึงข้อมูลผู้บริหารหรือบุคลากรภายในองค์กรการมีระบบ DLP จะช่วยลดโอกาสการรั่วไหลของข้อมูลซึ่งถือว่าเป็นการลดความเสียหายของบริษัทไปด้วย
คุณสมบัติเด่นของ DLP
• ควบคุมข้อมูลทั้งหมด วิเคราะห์และคัดแยกความประเภทความสำคัญของข้อมูล
• จัดลำดับความสำคัญ จำแนกสิทธิ์พร้อมควบคุมการเข้าถึงและส่งข้อมูลของแต่ละบุคคล
• ตรวจจับและป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญจากช่องทางต่างๆ เช่น e-mail, website และ USB Port
• ควบคุมข้อมูลรั่วไหลจากการรีโมทระยะไกล เช่น TeamViewer, RDP, RAdmin
• ตรวจสอบช่องทางการถ่ายโอนข้อมูล
• รายงานเหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลให้ผู้รับผิดชอบทราบความเคลื่อนไหว
ทำไมองค์กรต้องเลือกใช้ DLP
• เพราะข้อมูลมีความสำคัญกับองค์กร ระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรมีเช่นกัน ตราบเท่าที่องค์กรยังต้องใช้ข้อมูลนั้นสร้างความก้าวหน้า แข่งขันกับหน่วยงานภายนอก และให้บริการลูกค้าหรือคู่ค้าขององค์กรองค์กรที่เลือกใช้ โซลูชั่น DLP จะช่วยลดความเสี่ยงจากสาเหตุต่อไปนี้
• การส่งออกข้อมูลทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของบุคลากรภายในองค์กรผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพราะแค่คลิกเดียวก็สร้างความเสียหายได้แล้ว แต่ DLP จะช่วยบล็อกไว้ก่อนที่ข้อมูลจะถูกส่งออก
• การขโมยหรือลบข้อมูลจากบุคคลผู้ไม่หวังดี โดย DLP จะช่วยกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง ป้องกันการคัดลอกและส่งออกข้อมูลพร้อมแจ้งเตือนผู้ดูแล
ขั้นตอนการทำงานของ DLP
1. ข้อมูลต่างๆ จะถูกควบคุมและป้องกันจาก DLP
2. DLP จะสแกนหาข้อมูลที่ถูกละเมิดหรือกระทำเกินสิทธิ์จากผู้ใช้งาน
3. DLP แจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลข้อมูล
4. ผู้ดูแลข้อมูลประเมินอนุญาตหรือไม่อนุญาตการกระทำของผู้ใช้งาน เช่น การคัดลอก ลบ แก้ไข หรือส่งออกข้อมูล
องค์กรที่ควรใช้ DLP
• องค์กรที่ต้องการปกปิดข้อมูลและกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลภายใน
• องค์กรที่มีข้อมูลแผนงานหรือโปรเจคสำคัญๆ ที่ต้องเก็บรักษาเป็นความลับ
• องค์กรที่ต้องการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า คู่ค้า และบุคลากรภายใน ตามกฎหมาย PDPA เพราะข้อมูลคือสิ่งสำคัญขององค์กร จะดีกว่าไหมหากคุณมีเครื่องมือช่วยลดภัยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กรลดโอกาสเสี่ยงข้อมูลรั่วไหล และองค์กรเสียหายทั้งเงิน ชื่อเสียง และลูกค้า ด้วย DLP ระบบป้องกันและเตือนภัยข้อมูลก่อนสายเกินแก้…สนใจใช้งาน DLP คลิก!!