DLP ตัวช่วยองค์กรเพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล พร้อมตอบรับกฎหมาย PDPA
รู้หรือไม่? องค์กรทุกระดับมีโอกาสเสี่ยงทำผิดกฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากไม่มีมาตรการที่เข้มงวด พร้อมระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่ดีพอ ด้วยข้อมูลต่างๆ นั้นไม่ได้มีโอกาสเสี่ยงรั่วไหลจากบุคคลภายนอกเพียงอย่างเดียว แต่บุคคลภายในเองก็มีสิทธิ์ทำให้รั่วไหลได้ทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ดังนั้นฉบับนี้เราจะพาคุณไปเจาะลึกและรู้จักกับ ระบบป้องกันข้อมูลองค์กรรั่วไหล หรือ Data Loss Prevention (DLP) ตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้องค์กรปลอดภัยจากการทำข้อมูลสำคัญรั่วไหลและไม่เข้าข่ายทำผิดกฎหมาย PDPA
ความสำคัญของข้อมูลและสาเหตุข้อมูลรั่วไหล
ในยุคดิจิทัลที่เรากำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ การเปลี่ยนผ่านการใช้ชีวิตในหลายรูปแบบ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว อีกมุมหนึ่งก็เลี่ยงไม่ได้ว่ามีข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แน่นอนว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความสำคัญกับทั้งตัวบุคคลเองและองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งทำให้ทั่วโลกตื่นตัวกับการกำหนดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างในสหภาพยุโรปมี GDPR หรือในไทยเองก็มีกฎหมาย PDPA
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการสร้างข้อมูลต่างๆ ขึ้นมาจำนวนมาก ซึ่ง International Data Corp (IDC) บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก ได้คาดการณ์ไว้ในรายงานล่าสุดว่า ภายในปี 2568 ข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นทั่วโลกจะมีปริมาณมากถึง 163 Zettabyte (ZB)
และข้อมูลที่มีอยู่มากมายนี่เองที่กลายเป็นสิ่งล่อตาล่อใจอาชญากรให้กระทำการรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขโมยข้อมูลไปขาย การโจรกรรมข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่ การนำข้อมูลไปใช้ในการ Blackmail รวมถึงการนำไปแอบอ้างตัวตน ส่งผลให้เกิดความเสียหายและเดือดร้อนทั้งกับเจ้าของข้อมูลและองค์กร
สิ่งสำคัญที่องค์กรไม่ควรมองข้ามคือ อาชญากรเหล่านั้นไม่ได้มาในรูปแบบของบุคคลภายนอกเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีบุคคลภายในที่กระทำโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจอีกด้วย โดยจากข้อมูลของ Verizon 2021 มีตัวเลขสถิติในปี 2021 ชี้ให้เห็นว่า ทุกๆ 11 วินาที จะมีองค์กรตกเป็นเหยื่อโจรกรรมข้อมูลออนไลน์เสมอ และมีสาเหตุของการโจรกรรมมากกว่า 20% มาจากบุคคลภายในองค์กรเอง
รู้จักระบบป้องกันข้อมูลองค์กรรั่วไหล (DLP)
ประโยชน์ของระบบป้องกันข้อมูลองค์กรรั่วไหล (DLP)
5 ขั้นตอนสู่การใช้งาน DLP อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ออกแบบและกำหนดโครงสร้างของ DLP แน่นอนว่าระบบ DLP สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามขนาดของข้อมูลและความต้องการขององค์กร หากองค์กรไม่ได้มีการวางกรอบของโครงสร้างต่างๆ ไว้ ก็อาจทำให้ระบบของ DLP ดูแลข้อมูลของคุณได้อย่างไม่ครอบคลุมและทั่วถึง ดังนั้นจึงควรออกแบบ เลือกขนาดการทำงานที่เหมาะสม และทดสอบการใช้งานให้มั่นใจในความปลอดภัยมากที่สุด